จำนอง-ขายฝากอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท
กรุณา กรอกรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการขาย บริษัทจะติดต่อกลับไปหาท่านโดยเร็ว

 Click Download แบบฟอร์มขายฝาก จากกรมที่ดิน

คำแนะนำเกี่ยวกับการขายฝากสำหรับผู้ขายฝาก
  • ขายฝาก  คือ  สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ  โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนด  ทรัพย์สินที่ขายฝากถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์จะกำหนดเวลาขายฝากกันเท่าใดก็ได้  แต่
จะเกินสิบปีไม่ได้  ถ้าไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอนก็ต้องไถ่คืนภายในสิบปี  กำหนดเวลาไถ่นี้เป็นเรื่องของช่วงเวลา เช่น ขายฝาก มีกำหนด ๒ ปี  ผู้ขายฝากจะไถ่คืนเมื่อใดก็ได้ ไม่ต้องรอจนครบ ๒ ปี แต่ถ้าผู้ขายฝากไม่ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินภายในกำหนดเวลา  ย่อมหมดสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นอีกต่อไป (เว้นแต่จะเป็นกรณีตกลงซื้อขายกันใหม่)  และมีผลทำให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ซื้อฝากโดยเด็ดขาด
   
  •  สัญญากขายฝากที่กำหนดเวลา่ไว้ต่ำกว่าสิบปี ก่อนครบกำหนดเวลาไถ่  หากผู้ขายฝากเห็นว่า ไม่อาจใช้สิทธิไถ่ภายในกำหนดเวลาได้  ควรทำความตกลงกับผู้ซื้อฝากเพื่อขอขยายกำหนดเวลาไถ่  การขยายกำหนดเวลาไถ่อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ซื้อฝาก  และควรนำข้อตกลงดังกล่าว   มาจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่   โดยผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากต้องมาดำเนินการจดทะเบียนด้วยกันทั้งสองฝ่าย  ในกรณีที่
ขอจดทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่ไปแล้วจะต้องมีหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ซื้อฝากที่ได้
ทำขึ้นก่อนสิ้นสุดกำหนดเวลาไถ่มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
  •      การจดทะเบียนไถ่ถอนจากกขายฝากเป็นคนละส่วนกับการใช้สิทธิไถ่  เพราะการจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝากจะกระทำเมื่อใดก็ได้   แต่การใช้สิทธิไถ่ต้องกระทำภายในกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาขายฝาก  โดยนำ
สินไถ่ส่งมอบแก่ผู้ซื้อฝากภายในกำหนดเวลาไถ่  ถ้าไม่สามารถตามตัวผู้ซื้อฝากได้ หรือ ผู้ซื้อฝากหลีกเลี่ยงไม่ยอมให้มีการไถ่ ให้นำสินไถ่ไปวาง   ณ  สำนักงานวางทรัพย์ภายในกำหนดเวลาไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้  การวางทรัพย์ในส่วนกลางให้วาง ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม  ในส่วนภูมิภาค  ณ สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาค  หรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัด สำหรับจังหวัดที่ไม่มีสำนักงานบังคับคดีตั้งอยู่  ให้ติดต่อจ่าศาลของศาลจังหวัดนั้นๆ  เพื่อจัดส่งแก่สำนักงานบังคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคต่อไป  อย่างไรก็ดีเมื่อใช้สิทธิไถ่แล้ว ควรรีบมาขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยเร็ว หากทิ้งไว้อาจเกิดความเสียหายได้
           เมื่อดำเนินการดังกล่าวแล้วกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ขายฝากทันที ผู้ขายฝากจึงชอบที่จะนำหลักฐานเป็นหนังสือจากผู้ซื้อฝากแสดงว่าได้มีการไถ่ถอนจากขายฝากต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่เพียงฝ่ายเดียวได้  ในกรณีวางทรัพย์แล้วไม่ได้หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมา  ให้นำหลักฐานการวางทรัพย์มาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อหมายเหตุกลัดติดไว้ในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินฉบับสำนักงานที่ดิน และลงบัญชีอายัดให้ทราบถึงการวางทรัพย์  ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้ซื้อฝากซึ่งมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ทำการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อไป
  •             การคำนวณระยะเวลาว่า สัญญาขายฝากจะครบกำหนดเมื่อใด  ให้นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรก  กล่าวคือ  ถ้าทำสัญญาขายฝากมีกำหนด ๑ ปี   เมื่อวันที่  ๒๒  ตุลาคม  ๒๕๔๐  ก็ต้องครบกำหนด  ๑  ปี  ในวันที่  ๒๒  ตุลาคม  ๒๕๔๑
  •            สัญญาขายฝากที่ทำขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑๐ เมษายน  ๒๕๔๑  อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๑  มีผลใช้บังคับเป็นต้นมา จะกำหนดสินไถ่สูงเกินกว่าราคาขายฝากรวมกับประโยชน์ตอบแทนร้อยละ ๑๕ ต่อปี ไม่ได้
  •           ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝากแตกต่างจากจำนอง กล่าวคือ ในการจดทะเบียนขายฝาก จะต้องชำระค่าธรรมเนียมเป็นค่าจดทะเบียนขายฝากในอัตราร้อยละ ๒ ของราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามที่คณะกรรมการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์กำหนด   นอกจากนี้ยังต้องชำระภาษีเงินได้หัก   ณ   ที่จ่าย   และอากรแสตมป์
ตามประมวลรัษฎากร อีกด้วย  ส่วนการจดทะเบียนจำนองผู้ขอจดทะเบียนจะเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ ๑
ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่จำนอง   อย่างสูงไม่เกิน  ๒๐๐,๐๐๐ บาท  หรือในอัตราร้อยละ  ๐.๕   อย่างสูงไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ บาท   ในกรณีจำนองสำหรับการให้สินเชื่อเพื่อการเกษตรของสถาบันการเงินที่รัฐมนตรีกำหนด
การจำนองไม่ต้องชำระภาษีเงินได้หัก  ณ  ที่จ่าย  ตามประมวลรัษฎากร  ส่วนอากรแสตมป์   พนักงานเจ้าหน้าที่
จะเรียกเก็บต่อเมื่อสัญญาจำนองเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินด้วย  โดยผู้ให้กู้มีหน้าที่ต้องชำระ

           ข้อควรระวัง   ก่อนลงลายมือชื่อในสัญญาขายฝากควรตรวจสอบข้อความในสัญญาขายฝากว่าถูกต้องตามความประสงค์หรือไม่ต้องไถ่คืนภายในกำหนดเวลาเท่าใด  จำนวนเงินที่ขายฝากตรงตามที่รับเงินจริง